วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เเยมกล้วย


แยมโฮมเมดสูตรนี้ หาทานที่ไหนไม่ได้หรอกค่ะ นอกจากทำเอง หากไม่ชอบหวานอาจลดน้ำตาลได้บ้าง แต่ระยะเวลาที่เก็บอาจสั้นลง คือ ถ้าเก็บในตู้เย็น จะอยู่ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลักอย่างหนึ่งในการทำแยม คือ หากเนื้อผลไม้ที่ใช้ทำรสไม่จัดพอ มักจะนิยมเติมน้ำมะนาว หรือน้ำส้ม เพื่อให้รสแหลมขึ้น และเพิ่มความเป็นวุ้นให้กับแยมด้วยค่ะ 

ส่วนผสม
กล้วยหอมห่าม12ผล
มะนาว4ผล
น้ำตาลทราย ประมาณ1กิโลกรัม
ส้มเกลี้ยง6ผล

วิธีทำ
  1. ปอกเปลือกกล้วย หั่นเป็นชิ้นบางๆ แต่ให้คงเป็นแว่นรูปกล้วยไม่แตกจากกัน
  2. ตวงน้ำตาลในอัตราส่วนกล้วย 1 ก.ก. ต่อน้ำตาลทราย 1 1/2 ก.ก.
  3. ปอกเปลือกส้มเกลี้ยงเอาแต่เนื้อ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  4. คั้นมะนาว แล้วผสมน้ำมะนาว กล้วย ส้มเกลี้ยง เข้าด้วยกัน นำไปต้มโดยใช้ไฟอ่อนๆ นานประมาณ 15 นาที ใส่น้ำตาลทราย หมั่นคนจนน้ำตาลละลายดี และส่วนผสมเหนียวได้ที่ ปิดไฟ บรรจุลงขวดที่ทำความสะอาดไว้แล้ว ปิดฝาผนึก


การแปรรูปมะนาวสู่ระดับอุตสาหกรรม

การแปรรูปมะนาวสู่ระดับอุตสาหกรรม 
 วิธีการที่จะทำการแปรรูปนั้นทำได้หลายวิธี ส่วนมากจะใช้เกลือ และน้ำตาล เป็นส่วนปรุงแต่ง และกรรมวิธีก็ไม่ยุ่งยากมากนักสามารถถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีอย่างง่ายให้แก่เกษตรกรได้อย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถร่วมกับผู้วิจัยที่ใช้แต่น้ำ โดยนำเปลือกมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น เปลือกมะนาวปรุงรสสามรส มะนาวแช่อิ่ม และร่วมวิจัยกับผู้ใช้เปลือกมะนาวเพื่อสกัดกลิ่นและน้ำมัน สามารถนำเอาผลมะนาวที่เอาเปลือกออกแล้วมาดองเค็มและทำหวานและเอาที่เป็นน้ำมาทำเป็นน้ำมะนาวพร้อมดื่ม และนำมะนาวผลมาดองเค็ม 3-4 เดือน แล้วนำไปทำแช่อิ่มสด แช่อิ่มแบบอบแห้ง มะนาวหยี ทอฟฟี่มะนาว มะนาวบด ละเอียดปรุงรสทำเป็นน้ำจิ้ม และทำซอสพริกมะนาวดอง มะนาวผงพร้อมดื่ม การแปรรูปมะนาวนั้นยังไม่แพร่หลายมากนัก เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ของผลมะนาวมากขึ้น จึงได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแนะนำสู่ประชาชนในพื้นที่ที่มีมะนาวมาก และนำไปผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่วัตถุดิบ และยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีงานทำและเพิ่มรายได้ มะนาวปลูกได้ง่ายในดินแทบทุกชนิดทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 4 พันธุ์ คือ มะนาวไข่ ยาวเล็กกลม เปลือกบางผิวเรียบ มะนาวหนัง ผลโตกว่ามะนาวไข่ กลมมน ค่อนข้างยาว เปลือกหนา ผิวหยาบ มะนาวแป้น ผลกลมแป้นเหมือนผลส้มเขียวหวานลูกใหญ่ ใบมีขนาดโตกว่ามะนาวไข่เล็กน้อย และฐานใบกว้างกว่ามะนาวไข่ ให้ผลดกน้ำมากและให้ผลตลอดทั้งปี มะนาวพันธุ์แม่ไก่ไข่ดก มะนาวพันธุ์นี้เมื่อออกใหม่ๆ ได้รับความสนใจจากผู้ตั้งชื่อคือ คุณพยนต์ เกษตรกรแห่งอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี มะนาวพันธุ์นี้โดยบังเอิญเป็นมะนาวที่งอกจากเมล็ดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจปลูกโตขึ้นให้ผลดกเป็นพวงๆ ละ 8-9 ผล ผลมีลักษณะคล้ายไข่ไก่ จึงตั้งชื่อเล่นนั้นตามลักษณะใบและมีผลมีขนาดพอๆ กันกับมะนาวไข่ทั่วไปควรจัดไว้ในพวกมะนาวไข่แต่พิเศษ คือให้ผลดกเป็นพวงๆให้ผลผลิตสูง วิธีที่จะเก็บให้ได้ผลคุ้มจริงๆ ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งก็เก็บได้ไม่เกิน 1 เดือน เช่นกัน การเก็บมะนาวสดที่ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 85 ถึงร้อยละ 90 อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส จะเก็บมะนาวไว้ได้ในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน หรือน้อยกว่า เนื่องจากมีการเน่าเสียจากเชื้อรา ในการเก็บควรจะหาทางลดปริมาณเชื้อราพวกนี้ โดยจุ่มในน้ำยา หรือรมยาพ่นยาฆ่าเชื้อราบนผิวมะนาวเสียก่อน และอายุการเก็บเกี่ยวก็สำคัญมาก มะนาวที่แก่จัดเกินไปเวลาเก็บก็จะทำให้เน่าเสียเร็ว ถ้าอ่อนเกินไปน้ำมะนาวจะมีรสขมและมีน้ำน้อย จึงจำเป็นต้องใช้มะนาวที่มีความแก่อ่อนกำลังดี สีเขียวจัดไม่มีโรคแมลงเจาะเน่า หรือช้ำมะนาวก็เช่นเดียวกับ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องการออกซิเจนในการหายใจ และคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ในบรรยากาศที่ไม่มีการควบคุมมะนาวจะหายใจในอัตราสูง ทำให้เน่าเสียเร็ว เวลาเก็บจึงต้องปรับสภาวะทำให้มะนาวหายใจช้าๆ สม่ำเสมอมะนาวจึงสดอยู่ได้นาน ยาฆ่าเชื้อรา ( Fungicide ) ที่ใช้และปริมาณที่ใช้มีดังนี้ Thiobensazole ร้อยละ 90 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร แช่นานครึ่งนาที Manzate-D 24 กรัม ต่อ 20 ลิตร แช่นานครึ่งนาที Ben late 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 10 ลิตร แช่นานครึ่งนาที จะใช้ชนิดใดก็ได้ ตามสะดวกซึ่งจะให้ผลใกล้เคียงกัน ในระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูที่มีมะนาวมากล้นตลาด ราคาตกต่ำเหมาะที่แม่บ้าน จะทำเป็นผลิตภัณฑ์ถนอมไว้รับประทานในครัวเรือนหรือทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวเป็นการเพิ่มรายได้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของครอบครัว หรือจะคิดค้นหาวิธีเก็บถนอมมะนาวสดเก็บไว้รับประทานได้ในฤดูกาลที่ขาดแคลนและแพง เช่น การทำผลิตภัณฑ์มะนาวต่างๆ ดังนี้ น้ำมะนาวสดๆ บรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็น น้ำมะนาวแช่แข็ง เยลลี่มะนาว ทอฟฟี่มะนาว มะนาวดอง เปลือกมะนาวแห้งสามรส แยมผิวมะนาว (มาร์มาเลด) การแปรรูปมะนาวสดแช่แข็ง คนไทยตั้งเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพน้ำมะนาวไว้สูงมาก คือ น้ำมะนาวคั้นจากผลสด ไม่มีรสขม ไม่เปลี่ยนรส ข้อสำคัญต้องมีกลิ่นหอมของมะนาวสด จึงจะนำไปปรุงรสอาหารประเภทอาหารยำ ต้มยำ ส้มตำ น้ำพริกมะนาว น้ำพริกกะปิ และ อาหารไทยอื่นๆ น้ำมะนาวสดจะเปลี่ยนรสชาติทันทีถ้ากระทบกับความร้อน กลายเป็นน้ำมะนาวต้มและมีรสขม น้ำมะนาวจะตกตะกอนแยกชั้น จึงไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ร้านอาหารก็ไม่อาจใช้มะนาวที่มีคุณภาพเปลี่ยนไปปรุงอาหารได้ น้ำมะนาวที่เก็บค้างไว้นานเกิน 6 ชั่วโมง โดยไม่เก็บรักษาในสภาพเย็น น้ำมะนาวสดทีคั้นจะเสื่อมคุณภาพ มีรสชาติเปลี่ยนไป มีรสขมและกลิ่นคล้ายของดอง สาเหตุเกิดจากการทำงานของเอนไซต์และการสัมผัสอากาศ ดังนั้นการเก็บรักษาน้ำมะนาวสดให้คงคุณภาพเดิมจะเปลี่ยนไปน้อยที่สุด นั่นคือ การเก็บถนอมโดยการแช่แข็งน้ำมะนาวสดที่อุณหภูมิ – 30 องศาเซลเซียส (อย่างต่ำ – 20 องศาเซลเซียส) เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมะนาวสดในรูปของเหลว กลายสภาพเป็นของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำมะนาวแช่แข็ง จะเก็บรักษาได้นานเกิน 6 เดือน โดยคุณภาพใกล้เคียงของสดมากที่สุด ได้ทดลองคืนสภาพน้ำมะนาวกลับไปกลับมาในรูปของเหลวและของแข็ง คุณภาพมะนาวยังคงเดิม ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะสมที่ร้านอาหารและภัตตาคารจะนำไปใช้เก็บน้ำมะนาวที่มากในฤดูฝน และคืนสภาพเป็นน้ำมะนาวไว้ใช้ในฤดูร้อน ค่าใช้จ่ายต่อน้ำมะนาวแช่แข็งจะตกไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลกรัม น้ำมะนาวต่อเดือน ทุกคนจะคิดในทางเดียวกันว่าการใช้วิธีแช่แข็งเก็บน้ำมะนาวสด จะมีต้นทุนแพงมากขอตอบว่าคุ้มมาก ไม่แพงอย่างที่คิดเพราะน้ำมะนาว 1 กิโลกรัม จะได้จากผลมะนาวสดขนาดกลาง จำนวน 60 ผล หรือเฉลี่ย 1.6 สตางค์ ต่อผล ต่อเดือน หรือ 9.6 สตางค์ต่อผลต่อ 6 เดือน หากพิจารณาความสะดวกในการใช้น้ำมะนาวก็เกินคุ้ม การแปรรูปน้ำมะนาวแช่แข็งมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ จัดซื้อมะนาวที่แก่เต็มที่ผิวเปลือกยังคงสภาพเขียวทั้งผล ล้างผิวมะนาวให้สะอาด ไม่มีคราบสกปรก และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง วางให้สะเด็ดน้ำและพักให้ผิวแห้ง เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ มีด เขียง ถัง และถาดให้พร้อมในสภาพที่ทำความสะอาดแล้ว ผ่าครึ่งผลมะนาว คั้นมะนาว ใช้เครื่องคั้น ใช้เครื่องบีบ หรือคั้นด้วยมือก็ได้ แยกเมล็ดที่ตกค้างในน้ำมะนาวออกให้หมด รีบบรรจุน้ำมะนาวใส่ถาดพลาสติกชนิดเย็นและหนาขนาด 100 กรัม หรือตักใส่ถาดพลาสติกสูงไม่เกิน 1 นิ้ว หรือใช้ถาดทำน้ำแข็งเป็นหลุมๆ ห้ามคั้นน้ำมะนาวทิ้งค้างไว้นานเกิน 1 ชั่วโมง ต้องรีบแช่แข็ง วางในตู้เย็นชั้นน้ำแข็ง หรือตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส หรือห้องแช่แข็ง -20 อาศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชั่วโมง น้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งอย่างสมบูรณ์ สำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำมะนาวเป็นถุงพลาสติกมีการผลึกปากถุงให้แน่น น้ำไม่ระเหยไปไหน สำหรับถาดน้ำแข็งเป็นหลุม และถาดเปิด ต้องนำออกมาปิดด้วยแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ เพราะในตู้แช่แข็งจะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก จึงสูญเสียน้ำไม่ควรใช้พลาสติกบางชนิดย่น เพราะจะปริแตกและน้ำระเหยได้ แม่บ้านที่เตรียมน้ำมะนาวเองใส่ถาดน้ำแข็งจะนำมาเก็บในกล่องเก็บน้ำแข็งก็ได้ แต่ต้องปิดปากกล่องให้แน่นเวลาใช้ก็นำมาใช้ทีละก้อนจนกว่าจะหมด สำหรับร้านค้าและภัตตาคาร ก็ใช้ชนิดบรรจุพลาสติกจะสะดวกที่สุด หากเหลือใช้ก็มัดปากถุงเก็บใส่ตู้เย็นได้อีก สำหรับผู้สนใจทำเป็นการค้าหรือธุรกิจก็มีสูตรและกรรมวิธีการทำน้ำมะนาวแช่แข็งโดยเฉพาะติดต่อภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การเก็บรักษามะนาวในระดับการค้า เก็บเกี่ยวด้วยความประณีต คัดเลือกเฉพาะผลที่มีสีเขียวเข้มและมีขั้วติด ไม่มีบาดแผล รอยช้ำ โรค หรือแมลง ล้างทำความสะอาดด้วยคลอรีน 200 ppm แช่ยากันรา ในกลุ่ม Benzimidazale 500-1,000 ppm ผสม GA 200 ppm บรรจุในถุงพลาสติกเจาะรู เคลือบผิวด้วยสารเคลือบผิว บรรจุในตะกร้า เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 90-95 ควบคุมบรรยากาศให้มีออกซิเจน ร้อยละ 10 กำจัดเอธิลีนออกจากห้องเก็บรักษา ตามขั้นตอนที่ 1,2,5,7 และ 8 เก็บรักษาได้ 6-8 สัปดาห์ ตามขั้นตอนที่ 1,2,3,4,5 หรือ 6,7 และ 8 เก็บรักษาได้ 8-10 สัปดาห์ ตามขั้นตอนที่ 1,2,3,4,8 และ 9 เก็บรักษาได้ 10-12 สัปดาห์ ถ้าเพิ่มขึ้นขั้นตอนที่ 10 น่าจะเพิ่มอายุการเก็บรักษาได้อีก 2 สัปดาห์ ที่มา : หนังสืออุตสาหกรรมสาร ปีที่ 46 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนกันยายน - ตุลาคม 2546 หน้าที่ 22-31
ระบบการผลิตอาหาร (Good Agricultural Practice ; GAP) GAP ย่อมาจากคำว่า “Good Agricultural Practice” ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความหมาย ว่า “ เกษตรดีที่เหมาะสม ” เป็นระบบการจัดการกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยมีคุณภาพ ปราศจากศัตรูพืช และจุลินทรีย์ เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภคในประเทศไทย การตรวจประเมิน และรับรองระบบการจัดการโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยปัจจัยที่ใช้ในการตรวจประเมินแปลงผลิตของเกษตรกรเพื่อให้ได้ตามระบบการจัดการคุณภาพพืช “ เกษตรดีที่เหมาะสม ” (GAP) มีการตรวจสอบอย่างน้อย 8 ปัจจัย คือ • แหล่งน้ำ • พื้นที่ปลูก • การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร • การเก็บรักษาและขนย้ายผลผลิตภายในแปลง • การบันทึกข้อมูล • การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช • การจัดกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ • การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อเกษตรกรปฏิบัติตามทั้ง 8 ปัจจัยแล้ว จะได้รับหนังสือแหล่งผลิตพืช “ เกษตรดีที่เหมาะสม ” (GAP) ภายใต้สัญลักษณ์ “Q” ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังรณรงค์ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยขอรับการจดทะเบียนแปลงเกษตรกร ซึ่งสามารถส่งแบบฟอร์มพร้อมกับยื่นใบคำขอได้ ณ หน่วยงาน ส.ว.พ. ทั้ง 8 เขต เพื่อให้ผู้ตรวจสอบแปลง GAP (Inspector) ซึ่งมีอยู่ 400 รายทั่วประเทศ เข้าไปทำการตรวจสอบได้ ขณะนี้มีเกษตรกรผ่านการตรวจสอบได้การรับรองระบบการจัดการคุณภาพพืช GAP และได้รับสัญลักษณ์ “Q” จำนวน 34 , 839 ราย