วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การแปรรูปมะนาวสู่ระดับอุตสาหกรรม

การแปรรูปมะนาวสู่ระดับอุตสาหกรรม 
 วิธีการที่จะทำการแปรรูปนั้นทำได้หลายวิธี ส่วนมากจะใช้เกลือ และน้ำตาล เป็นส่วนปรุงแต่ง และกรรมวิธีก็ไม่ยุ่งยากมากนักสามารถถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีอย่างง่ายให้แก่เกษตรกรได้อย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถร่วมกับผู้วิจัยที่ใช้แต่น้ำ โดยนำเปลือกมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น เปลือกมะนาวปรุงรสสามรส มะนาวแช่อิ่ม และร่วมวิจัยกับผู้ใช้เปลือกมะนาวเพื่อสกัดกลิ่นและน้ำมัน สามารถนำเอาผลมะนาวที่เอาเปลือกออกแล้วมาดองเค็มและทำหวานและเอาที่เป็นน้ำมาทำเป็นน้ำมะนาวพร้อมดื่ม และนำมะนาวผลมาดองเค็ม 3-4 เดือน แล้วนำไปทำแช่อิ่มสด แช่อิ่มแบบอบแห้ง มะนาวหยี ทอฟฟี่มะนาว มะนาวบด ละเอียดปรุงรสทำเป็นน้ำจิ้ม และทำซอสพริกมะนาวดอง มะนาวผงพร้อมดื่ม การแปรรูปมะนาวนั้นยังไม่แพร่หลายมากนัก เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ของผลมะนาวมากขึ้น จึงได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแนะนำสู่ประชาชนในพื้นที่ที่มีมะนาวมาก และนำไปผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่วัตถุดิบ และยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีงานทำและเพิ่มรายได้ มะนาวปลูกได้ง่ายในดินแทบทุกชนิดทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 4 พันธุ์ คือ มะนาวไข่ ยาวเล็กกลม เปลือกบางผิวเรียบ มะนาวหนัง ผลโตกว่ามะนาวไข่ กลมมน ค่อนข้างยาว เปลือกหนา ผิวหยาบ มะนาวแป้น ผลกลมแป้นเหมือนผลส้มเขียวหวานลูกใหญ่ ใบมีขนาดโตกว่ามะนาวไข่เล็กน้อย และฐานใบกว้างกว่ามะนาวไข่ ให้ผลดกน้ำมากและให้ผลตลอดทั้งปี มะนาวพันธุ์แม่ไก่ไข่ดก มะนาวพันธุ์นี้เมื่อออกใหม่ๆ ได้รับความสนใจจากผู้ตั้งชื่อคือ คุณพยนต์ เกษตรกรแห่งอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี มะนาวพันธุ์นี้โดยบังเอิญเป็นมะนาวที่งอกจากเมล็ดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจปลูกโตขึ้นให้ผลดกเป็นพวงๆ ละ 8-9 ผล ผลมีลักษณะคล้ายไข่ไก่ จึงตั้งชื่อเล่นนั้นตามลักษณะใบและมีผลมีขนาดพอๆ กันกับมะนาวไข่ทั่วไปควรจัดไว้ในพวกมะนาวไข่แต่พิเศษ คือให้ผลดกเป็นพวงๆให้ผลผลิตสูง วิธีที่จะเก็บให้ได้ผลคุ้มจริงๆ ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งก็เก็บได้ไม่เกิน 1 เดือน เช่นกัน การเก็บมะนาวสดที่ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 85 ถึงร้อยละ 90 อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส จะเก็บมะนาวไว้ได้ในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน หรือน้อยกว่า เนื่องจากมีการเน่าเสียจากเชื้อรา ในการเก็บควรจะหาทางลดปริมาณเชื้อราพวกนี้ โดยจุ่มในน้ำยา หรือรมยาพ่นยาฆ่าเชื้อราบนผิวมะนาวเสียก่อน และอายุการเก็บเกี่ยวก็สำคัญมาก มะนาวที่แก่จัดเกินไปเวลาเก็บก็จะทำให้เน่าเสียเร็ว ถ้าอ่อนเกินไปน้ำมะนาวจะมีรสขมและมีน้ำน้อย จึงจำเป็นต้องใช้มะนาวที่มีความแก่อ่อนกำลังดี สีเขียวจัดไม่มีโรคแมลงเจาะเน่า หรือช้ำมะนาวก็เช่นเดียวกับ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องการออกซิเจนในการหายใจ และคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ในบรรยากาศที่ไม่มีการควบคุมมะนาวจะหายใจในอัตราสูง ทำให้เน่าเสียเร็ว เวลาเก็บจึงต้องปรับสภาวะทำให้มะนาวหายใจช้าๆ สม่ำเสมอมะนาวจึงสดอยู่ได้นาน ยาฆ่าเชื้อรา ( Fungicide ) ที่ใช้และปริมาณที่ใช้มีดังนี้ Thiobensazole ร้อยละ 90 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร แช่นานครึ่งนาที Manzate-D 24 กรัม ต่อ 20 ลิตร แช่นานครึ่งนาที Ben late 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 10 ลิตร แช่นานครึ่งนาที จะใช้ชนิดใดก็ได้ ตามสะดวกซึ่งจะให้ผลใกล้เคียงกัน ในระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูที่มีมะนาวมากล้นตลาด ราคาตกต่ำเหมาะที่แม่บ้าน จะทำเป็นผลิตภัณฑ์ถนอมไว้รับประทานในครัวเรือนหรือทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวเป็นการเพิ่มรายได้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของครอบครัว หรือจะคิดค้นหาวิธีเก็บถนอมมะนาวสดเก็บไว้รับประทานได้ในฤดูกาลที่ขาดแคลนและแพง เช่น การทำผลิตภัณฑ์มะนาวต่างๆ ดังนี้ น้ำมะนาวสดๆ บรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็น น้ำมะนาวแช่แข็ง เยลลี่มะนาว ทอฟฟี่มะนาว มะนาวดอง เปลือกมะนาวแห้งสามรส แยมผิวมะนาว (มาร์มาเลด) การแปรรูปมะนาวสดแช่แข็ง คนไทยตั้งเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพน้ำมะนาวไว้สูงมาก คือ น้ำมะนาวคั้นจากผลสด ไม่มีรสขม ไม่เปลี่ยนรส ข้อสำคัญต้องมีกลิ่นหอมของมะนาวสด จึงจะนำไปปรุงรสอาหารประเภทอาหารยำ ต้มยำ ส้มตำ น้ำพริกมะนาว น้ำพริกกะปิ และ อาหารไทยอื่นๆ น้ำมะนาวสดจะเปลี่ยนรสชาติทันทีถ้ากระทบกับความร้อน กลายเป็นน้ำมะนาวต้มและมีรสขม น้ำมะนาวจะตกตะกอนแยกชั้น จึงไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ร้านอาหารก็ไม่อาจใช้มะนาวที่มีคุณภาพเปลี่ยนไปปรุงอาหารได้ น้ำมะนาวที่เก็บค้างไว้นานเกิน 6 ชั่วโมง โดยไม่เก็บรักษาในสภาพเย็น น้ำมะนาวสดทีคั้นจะเสื่อมคุณภาพ มีรสชาติเปลี่ยนไป มีรสขมและกลิ่นคล้ายของดอง สาเหตุเกิดจากการทำงานของเอนไซต์และการสัมผัสอากาศ ดังนั้นการเก็บรักษาน้ำมะนาวสดให้คงคุณภาพเดิมจะเปลี่ยนไปน้อยที่สุด นั่นคือ การเก็บถนอมโดยการแช่แข็งน้ำมะนาวสดที่อุณหภูมิ – 30 องศาเซลเซียส (อย่างต่ำ – 20 องศาเซลเซียส) เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมะนาวสดในรูปของเหลว กลายสภาพเป็นของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำมะนาวแช่แข็ง จะเก็บรักษาได้นานเกิน 6 เดือน โดยคุณภาพใกล้เคียงของสดมากที่สุด ได้ทดลองคืนสภาพน้ำมะนาวกลับไปกลับมาในรูปของเหลวและของแข็ง คุณภาพมะนาวยังคงเดิม ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะสมที่ร้านอาหารและภัตตาคารจะนำไปใช้เก็บน้ำมะนาวที่มากในฤดูฝน และคืนสภาพเป็นน้ำมะนาวไว้ใช้ในฤดูร้อน ค่าใช้จ่ายต่อน้ำมะนาวแช่แข็งจะตกไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลกรัม น้ำมะนาวต่อเดือน ทุกคนจะคิดในทางเดียวกันว่าการใช้วิธีแช่แข็งเก็บน้ำมะนาวสด จะมีต้นทุนแพงมากขอตอบว่าคุ้มมาก ไม่แพงอย่างที่คิดเพราะน้ำมะนาว 1 กิโลกรัม จะได้จากผลมะนาวสดขนาดกลาง จำนวน 60 ผล หรือเฉลี่ย 1.6 สตางค์ ต่อผล ต่อเดือน หรือ 9.6 สตางค์ต่อผลต่อ 6 เดือน หากพิจารณาความสะดวกในการใช้น้ำมะนาวก็เกินคุ้ม การแปรรูปน้ำมะนาวแช่แข็งมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ จัดซื้อมะนาวที่แก่เต็มที่ผิวเปลือกยังคงสภาพเขียวทั้งผล ล้างผิวมะนาวให้สะอาด ไม่มีคราบสกปรก และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง วางให้สะเด็ดน้ำและพักให้ผิวแห้ง เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ มีด เขียง ถัง และถาดให้พร้อมในสภาพที่ทำความสะอาดแล้ว ผ่าครึ่งผลมะนาว คั้นมะนาว ใช้เครื่องคั้น ใช้เครื่องบีบ หรือคั้นด้วยมือก็ได้ แยกเมล็ดที่ตกค้างในน้ำมะนาวออกให้หมด รีบบรรจุน้ำมะนาวใส่ถาดพลาสติกชนิดเย็นและหนาขนาด 100 กรัม หรือตักใส่ถาดพลาสติกสูงไม่เกิน 1 นิ้ว หรือใช้ถาดทำน้ำแข็งเป็นหลุมๆ ห้ามคั้นน้ำมะนาวทิ้งค้างไว้นานเกิน 1 ชั่วโมง ต้องรีบแช่แข็ง วางในตู้เย็นชั้นน้ำแข็ง หรือตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส หรือห้องแช่แข็ง -20 อาศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชั่วโมง น้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งอย่างสมบูรณ์ สำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำมะนาวเป็นถุงพลาสติกมีการผลึกปากถุงให้แน่น น้ำไม่ระเหยไปไหน สำหรับถาดน้ำแข็งเป็นหลุม และถาดเปิด ต้องนำออกมาปิดด้วยแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ เพราะในตู้แช่แข็งจะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก จึงสูญเสียน้ำไม่ควรใช้พลาสติกบางชนิดย่น เพราะจะปริแตกและน้ำระเหยได้ แม่บ้านที่เตรียมน้ำมะนาวเองใส่ถาดน้ำแข็งจะนำมาเก็บในกล่องเก็บน้ำแข็งก็ได้ แต่ต้องปิดปากกล่องให้แน่นเวลาใช้ก็นำมาใช้ทีละก้อนจนกว่าจะหมด สำหรับร้านค้าและภัตตาคาร ก็ใช้ชนิดบรรจุพลาสติกจะสะดวกที่สุด หากเหลือใช้ก็มัดปากถุงเก็บใส่ตู้เย็นได้อีก สำหรับผู้สนใจทำเป็นการค้าหรือธุรกิจก็มีสูตรและกรรมวิธีการทำน้ำมะนาวแช่แข็งโดยเฉพาะติดต่อภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การเก็บรักษามะนาวในระดับการค้า เก็บเกี่ยวด้วยความประณีต คัดเลือกเฉพาะผลที่มีสีเขียวเข้มและมีขั้วติด ไม่มีบาดแผล รอยช้ำ โรค หรือแมลง ล้างทำความสะอาดด้วยคลอรีน 200 ppm แช่ยากันรา ในกลุ่ม Benzimidazale 500-1,000 ppm ผสม GA 200 ppm บรรจุในถุงพลาสติกเจาะรู เคลือบผิวด้วยสารเคลือบผิว บรรจุในตะกร้า เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 90-95 ควบคุมบรรยากาศให้มีออกซิเจน ร้อยละ 10 กำจัดเอธิลีนออกจากห้องเก็บรักษา ตามขั้นตอนที่ 1,2,5,7 และ 8 เก็บรักษาได้ 6-8 สัปดาห์ ตามขั้นตอนที่ 1,2,3,4,5 หรือ 6,7 และ 8 เก็บรักษาได้ 8-10 สัปดาห์ ตามขั้นตอนที่ 1,2,3,4,8 และ 9 เก็บรักษาได้ 10-12 สัปดาห์ ถ้าเพิ่มขึ้นขั้นตอนที่ 10 น่าจะเพิ่มอายุการเก็บรักษาได้อีก 2 สัปดาห์ ที่มา : หนังสืออุตสาหกรรมสาร ปีที่ 46 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนกันยายน - ตุลาคม 2546 หน้าที่ 22-31

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น